Communication engineering

วิศวกรสื่อสาร (วิศวกรรมโทรนาคม)


       หากย้อนไปในอดีตคงไม่มีใครคิดว่าเราจะสามารถพูดคุยกันได้ ทั้งๆที่อยู่กันคนละซีกโลก แต่ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารต่างๆที่มนุษย์พัฒนาขึ้นช่วยย่อโลกให้เล็กลงทำให้เราติดต่อสื่อสารกันได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น

วิศวกรสื่อสาร คืออะไร
ในความคิดของผม ผมคิดว่าวิศวกรในด้านสื่อสารนั้น เราเป็นสื่อกลางที่ช่วยให้เราติดต่อสื่อสารกันได้ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสารทางดาวเทียม ใยแก้วนำแสง คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์บ้าน โทรศัพท์มือถือ หรือแม้กระทั้งแอพพริเคชั่น ในระบบการสื่อสารนั้นก็จะมี ผู้ส่งสาร ช่องทางการสื่อสาร ผู้รับสาร ส่วนใหญ่แล้ววิศวกรสื่อสารจะทำหน้าที่ปรับปรุงตัวที่เป็นสื่อในการส่งสารระหว่างผู้ส่งและผู้รับให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ในด้านความหมายนั้นวิศวกรรมโทรนาคมนั้นคือ เป็นวิชาการด้านวิศวกรรมที่เกิดจากการรวบรวมองค์ความรู้ทางวิศวกรรมไฟฟ้าและวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์เพื่อเสริมสร้างระบบการสื่อสารโทรคมนาคมที่เป็นองค์ความรู้เฉพาะทาง ซึ่งความรู้ด้านโทรคมนาคม จะเป็นสาขาที่มีความหลากหลายของวิศวกรรมซึ่งจะเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์,งานโยธา,งานโครงสร้าง,การวางฐานราก,งานเสาตั้งสายอากาศและวิศวกรรมไฟฟ้า หรือแม้แต่ทางการแพทย์ ก็มีการใช้วิศวกรรมโทรคมนาคมชั้นสูงมาประยุกต์ใช้ วิศวกรโทรคมนาคมใช้ความหลากหลายของอุปกรณ์และสื่อกลางการขนส่งข้อมูลที่มีอยู่มากมายจากผู้ผลิตในการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายโทรคมนาคม สื่อกลางที่พบบ่อยส่วนใหญ่มักจะเรียกว่า พล้านท์ (plant) หรือข่ายสายตอนนอก ข่ายสายตอนใน ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม

วิศวกรสื่อสารศึกษาเกี่ยวกับอะไร
วิศวกรสื่อสารนั้นจะศึกษาในด้านระบบสื่อสารต่างๆอาทิเช่นวิทยุโทรศัพท์ โทรทัศน์ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมรวมไปถึงโครงข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตโดยจะศึกษาระบบชื้นส่วนอุปกรณ์ตลอดจนการวัดและประเมินประสิทธิภาพในการสื่อสารต่างๆเพราะวิศวกรสื่อสารจะต้องผสานความรู้ในด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และวิศวกรรมโทรนาคมเข้าไว้ด้วยกันเพื่อนำมาปรับปรุง พัฒนาการสื่อสารให้ดียิ่งขึ้น

ตัวอย่างบุคคลในด้านวิศวกรรมสื่อสาร
ถ้าพูดถึงแรงบันดาลใจในการทำงานด้านวิศวกรสื่อสารแล้ว ผมคงไม่ลืมพูดถึงบุคคลเหล่านี้ที่เป็นแรงบันดาลใจในด้านการพัฒนาด้านการสื่อสารของโลก
WILLIAM COOKE และ CHARLES WHEATSTONE ผู้คิดค้นและเริ่มใช้ระบบโทรเลขตามสายระบบแรกที่เปิดให้บริการทางการค้า
SAMUEL F.B.MORSE ALFREDVAAIL ผู้คิดค้นเครื่องส่งโทรเลข
ALEXANDER GRAHAM BELL ELISHA GRAY ผู้คิดค้นโทรศัพท์เครื่องแรกของโลก
MARTIN COOPER คิดค้นโทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องแรกของโลก

คุณสมบัติที่ดีของวิศวกรสื่อสาร
ถ้าพูดถึงวิศวกรสื่อสารแล้วผมคิดว่าก็เป็นอาชีพหนึ่งสิ่งที่จำเป็นในการทำงานในอาชีพนั้นๆเราควรมีคุณสมบัติที่ดีในการทำงาน สำหรับคุณสมบัติที่ดีในการทำอาชีพวิศวกรสื่อสาร คือมีคุณธรรมที่ดี ซื่อสัตย์สุจริต ไม่ทุจริตซึ่งเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของทุกอาชีพในส่วนเสริมของวิศวกรสื่อสารคือมีความกระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลา ความอดทน ความเสียสละ มีความตั้งใจเอาใจใส่งานที่ทำ โดยสิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งช่วยให้เรามีประสบความสำเร็จในการทำงาน

เส้นสู่ความสำเร็จในด้านวิศวกรรมสื่อสาร
อย่างแรกเลยในการประสบความสำเร็จในสายอาชีพนี้คือ เราต้องมีใจรักในสายอาชีพนี้ และเราควรจะมีการเรียนรู้ค้นคว้าอยู่ตลอดเวลาแม้สิ่งที่ค้นคว้าจะด้อยกว่าหรือดีกว่า เราไม่ควรอยู่กับที่ มีการอัปเดต    อุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ใหม่ๆที่เข้ามาดูข้อได้เปรียบเสียเปรียบแล้วนำมาปรับใช้
โดยเริ่มแรกของการทำงานด้านวิศวกรรมสื่อสาร เราก็จะเป็นวิศวกร จูเนียร์วิศวกร วิศวกรอาวุโส ผู้จัดการ และอาจเลื่อนเป็นผู้บริหาร หากเราเกษียณเราก็ไปเป็นที่ปรึกษาได้ ไม่ก็เป็นอาจารย์ในมหาลัยต่างๆเห็นแล้วใช่ไหมว่าวิศวกรนั้นหากเราหมั้นฝึกฝน พัฒนาตัวเราตลอดเราก็จะประสบความสำเร็จในสายอาชีพนี้

การเรียน
            การเรียนนั้นผมคิดว่าในแต่ละมหาลัยก็เรียนคล้ายๆกัน แต่จะแตกต่างนิดหน่อยที่จะเสริมด้านไหนเป็นพิเศษตามแต่อาจารย์ในมหาลัยของแต่ละที่ ในส่วนของปีหนึ่งนั้นก็จะเรียนพื้นฐานของพวกคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี คอมพิวเตอร์ รวมไปถึงภาษาอังกฤษที่วิศวกรส่วนมากจะต้องใช้เมื่อจบไปทำอาชีพนี้ ปีที่สองก็จะลงในส่วนของวิศวกรรมโทรนาคมมากขึ้นก็จะมีในส่วนของวงจรอนาล็อก (Analog) การติดตั้งเครือข่าย Data Network  ปีที่สามจะเป็นพวกเครือข่ายไร้สาย ด้านออพติคอล ด้านสายใยแก้วนำแสง ด้านสื่อสารดาวเทียม ด้านสื่อสารดิจิตอล และต้องเข้าแลปเรียนรู้เครื่องมือที่จะเอาไปใช้จริงในการทำงาน ปีที่สีจะเป็นการเรียนรู้สายเฉพาะทางในสายนั้นๆ ซึ่งจะมี ด้านไร้สาย ด้านเครือข่าย ด้านเซอร์กิตสำหรับระบบสื่อสาร ด้านประมวลผลสัญญาณ ในตอนนี้นักศึกษาก็ต้องเลือกแล้วว่าเราจะไปสายไหน ตามแต่ความถนัดของแต่ละคน ซึ่งผมก็ขอให้ทุกคนที่เรียนวิศวกรรมโทรนาคมเลือกเรียนสายที่ตนเองชอบและประสบความสำเร็จในสายอาชีพนี้
จบมาทำอะไรได้บ้าง
            เรียนจบวิศวกรรมโทรนาคมนาคมมาทำอาชีพอะไรได้บ้าง ผมเชื่อว่าทุกคนที่เรียนสายนี้มาก็จะเริ่มคิดแหละว่าจะทำอะไรเมื่อจบไปในตอนนี้วิศวกรรมโทรนาคมเป็นที่ต้องการมากในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบสื่อสารและระบบโครงข่ายโทรคมนาคมทั้งในภาครัฐและเอกชน อันได้แก่
วิศวกรติดตั้งและดูแลระบบการสื่อสารโทรคมนาคม ได้แก่ บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัท การสื่อสารโทรคมนาคม จำกัด บริษัท ไทยคม บริษัท AIS บริษัท DTAC บริษัท TelecomAsia บริษัท TT&T บริษัท Ericsson บริษัท Nokia บริษัท AT&T และบริษัท SIEMENS
วิศวกรติดตั้งและดูแลระบบสื่อสารเคเบิลใยแก้ว ระบบไมโครเวฟ ระบบสื่อสารดาวเทียม
            วิศวกรออกแบบ ติดตั้งและดูแลระบบสถานีวิทยุโทรทัศน์ที่มีสถานีทวนสัญญาณอยู่ทั่วประเทศเช่น สถานีวิทยุโทรทัศน์ช่องต่างๆ
วิศวกรดูแลระบบระบบสื่อสารสำหรับการบินพาณิชย์ เช่น บริษัท การบินไทย บริษัท วิทยุการบิน จำกัด
จะเห็นได้ว่าวิศวกรที่จบสายนี้มาจะทำสายงานได้หลากหลาย ผมเชื่อทุกคนคงมีสายงานที่ชอบแล้วและขอให้ทุกคนประสบความสำเร็จในสายงานอาชีพนี้

ผู้จัดทำ

นายธัญพลมา ประดิษฐ์ รหัสนักศึกษา 6001011631066
https://m.youtube.com/watch?t=5s&v=9r3RinNcT4I

นายกิตติศักดิ์ เล็กขำ รหัสนักศึกษา 6001011611014
https://www.youtube.com/watch?v=gN0CnePMFKM&t=9s

นางสาวพิมพ์ภาพร โพธิ์ทอง รหัสนักศึกษา 6001011631104
https://youtu.be/qxOGjviIxb8

นางสาววันวิสาข์ เนื่องประถม รหัสนักศึกษา 6001011631147
https://youtu.be/68vXnyhnANA





Comments