Nano Engineer



เกริ่นนำนาโนเทคโนโลยี
          เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “นาโนเทคโนโลยี” กันมาบ้างแล้ว แต่ไม่รู้ว่ามันคืออะไร แต่ในปัจจุบันนี้ศาสตร์แห่งนาโนเทคโนโลยีเป็นโครงการศึกษาและวิจัยระดับชาติไปแล้ว หากลองสังเกตจากรากศัพท์แล้วไอ้คำว่า “นาโน”เนี่ยมันมามีความหมายว่า ความยาวที่มีขนาดเล็กระดับ 1/109 หรือพูดเป็นภาษาชาวบ้านว่าความยาวของเศษ 1 ใน 1,000,000,000 ส่วน(เล็กกว่าตามดอีก) ส่วนคำว่า “เทคโนโลยี”นั้นมันหมายถึง ความก้าวหน้า วิวัฒนาการ การนำความรู้มาประยุกต์ นั่นเอง เมื่อนำสองคำนี้รวมเข้าด้วยกันมันจึงหมายถึง การจัดการ การวิเคราะห์ การสร้างหรือการออกแบบ วัสดุ อุปกรณ์ รวมไปถึงเครื่องจักรขนาดเล็กระดับนาโน                                     
รูป ก.
กำเนิดนาโนเทคโนโลยี
         ต้นกำเนิดของนาโนเทคโนโลยีนั้นเกิดขึ้นที่ห้องแลบ PARC (Xerox's Palo Alto Research Center) ซึ่งเป็นห้องแลบที่เป็นแหล่งกำเนิดเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำด้านต่างๆของโลกในปัจจุบัน หากย้อนกลับไปปี ค.ศ. 1959 นักวิทยาศาสตร์ท่านหนึ่งนามว่า Richard P. Feynman(รูป ก.) ใช้คำว่า Minimanufacturing และเป็นคนแรกที่แสดงความคิดเห็นถึงความเป็นไปได้ และแนวโน้มของนาโนเทคโนโลยี ในการบรรยายเรื่อง “There’s plenty of room at the bottom” ที่สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย ต่อมาในปี ค.ศ. 1974 ศาสตราจารย์ โนริโอะ ทานิกูชิ (Norio Taniguchi) แห่งมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์โตเกียวเป็นคนแรกที่เริ่มใช้คำว่า “Nanotechnology”

ว่าด้วยเรื่องของวิศวกรนาโน 
              งานของวิศวกรนาโนโดยส่วนใหญ่จะเน้นไปทางสายงานวิจัย(พูดง่ายๆคือเน้นไปด้านงานวิทยาศาสตร์มากกว่างานด้านวิศวกรรม)เกี่ยวกับ วัสดุ ค้นคว้าหาสมบัติของสสารใหม่ๆ สำหรับประเทศไทยนั้นเพิ่งจะมีการพัฒนาในศาสตร์นี้ แต่สำหรับในต่างประเทศมีการพัฒนามาพักใหญ่แล้วส่วนเรื่องเงินเดือนนั้นแพงเอาการเลยทีเดียว

สถาบันที่เปิดสอน
  1) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
      การรับสมัคร
       - ระบบรับตรง
              - สำเร็จหรือกำลังศึกษาชั้นม. 6 หรือเทียบเท่า ในระบบการศึกษาของประเทศไทย และคุณสมบัติผ่าน 2 ใน 3 ข้อ ดังนี้
               1. มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (GPA) ตั้งแต่ชั้นม. 4-6 ไม่ต่ำกว่า 2.75
               2. มีคะแนนสอบความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
                    - TOEFL (Paper-based) ผลคะแนนสอบไม่ต่ำกว่า 550 หรือ
                    - TOEFL (Internet-based) ผลคะแนนสอบไม่ต่ำกว่า 79 หรือ
                    - IELTS ผลคะแนนสอบไม่ต่ำกว่า 6.0 หรือ
                    - CU-TEP ผลคะแนนสอบไม่ต่ำกว่า 80
                     โดยสามารถใช้คะแนนผลการสอบย้อนหลังไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันสุดท้ายของการรับสมัคร
               3. มีคะแนนสอบวัดความถนัดทางคณิตศาสตร์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
                    - SAT I (Math Level 2) ผลคะแนนสอบไม่ต่ำกว่า 600 หรือ
                    - CU-AAT ผลคะแนนสอบไม่ต่ำกว่า 480
               4. มีคะแนนสอบวัดความถนัดทางวิทยาศาสตร์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
                    - CU-ATS ผลคะแนนสอบไม่ต่ำกว่า 800 หรือ
                    - SAT II (Physics and Chemistry) ผลคะแนนสอบแต่ละวิชาไม่ต่ำกว่า 600
       - สมัครผ่านระบบอินเตอร์เนต ที่เว็บไซต์ http://www.ise.eng.chula.ac.th/web/
       - ยื่นเอกสารพร้อมชำระค่าสมัคร ที่ สำนักบริหารหลักสูตรวิศวกรรมนานาชาติ (ISE)

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

Comments