การทดสอบคาร์โบไฮเดรตในผัก
การทดสอบคาร์โบไฮเดรตในผัก
เนื่องจากคาร์โบไฮเดรตเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายมนุษย์
แต่ถ้าหากรับประทานมากเกินไปอาจก่อให้เกิดอันตราย
กลุ่มของดิฉันจึงได้ทำการทดลองที่ขึ้น
เพื่อศึกษาว่าผักแต่ละชนิดมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตมากเพียงใด โดยใช้สารละลายไอโอดีนเป็นตัวทดสอบ
เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้บริโภคได้เลือกบริโภคได้ถูกต้องเพื่อให้ได้สารอาหารที่พอดีไม่มากหรือน้อยเกินไป
สมมุติฐาน
ฟักทองเป็นผักที่มีคาร์โบไฮเดรตมากที่สุด
วัตถุประสงค์
1.เพื่อทดสอบปริมาณคาร์โบไฮเดรตในผัก
2.เพื่อจะได้ทราบว่าผักแต่ละชนิดมีคาร์โบไอเดรตมากน้อยเพียงใด
อุปกรณ์
1 .
ฟักทอง
2 .
แตงกวา
3 .
ขิง
4 .
สารละลายไอโอดีน
5 .
จานสี
6 .
Dropper
7 .
เครื่องปั่น
8 . มีด
วิธีการทดลอง
นำผักทั้งสามชนิดมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ปั่นและคั้นเอาน้ำ
หลังจากนั้นนำสารละลายไอโอดีนหยดลงบนน้ำผักชนิดต่างๆ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของสีน้ำผัก
ผักชนิดต่างๆ
|
การเปลี่ยนแปลงของน้ำผักเมื่อหยดสารละลายไอโอดีนลง ไป 4 หยด
|
1.ฟักทอง
|
เปลี่ยนเป็นสีดำ
|
2.แตงกวา
|
เปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้มขึ้น
|
3.ขิง
|
ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
|
สรุปผลการทดลอง
จากการทดลองพบว่า ฟักทองมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตมากที่สุดรองลงมาคือ
แตงกวา และขิงตามลำดับ เพราะเมื่อหยดสารละลายไอโอดีนลงในน้ำผัก
ฟักทองมีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดรองลงมาคือ แตงกวา และขิงตามลำดับ
หมายเหตุ : การทดลองนี้ทดสอบปริมาณแป้งในผักเท่านั้น เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการรับประทานอาหารสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักให้ได้ผลดีที่สุด แต่กระนั้น เราไม่สามารถรับประทานขิงแทนฟักทองได้ถึงแม้ว่าขิงจะมีปริมาณแป้งน้อยที่สุดก็ตาม เพราะ ขิงและฟักทองมีคุณค่าทางโภชนาการที่แตกต่างกัน .
คุณค่าทางโภชนาการของผักทั้งสามชนิดที่ใช้ในการทดลอง
1. ขิง
2.แตงกวา
3.ฟักทอง
Comments
Post a Comment