วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์



วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์คืออะไร
        วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ (Mechatronics Engineering) เป็นสวิทยาการเชิงประยุกต์ ที่นำวิชาพื้นฐานหลักว่าด้วย วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรมการควบคุมอัตโนมัติ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศมาบูรณาการเข้าด้วยกันเพื่อการออกแบบและสร้างผลิตชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ เมื่อ เทคโนโลยี ก้าวหน้าขึ้น  สาขาย่อยของ วิศวกรรม ก็ขยายและพัฒนา จุดประสงค์ของแมคคาทรอนิกส์จึงเป็นกระบวนการออกแบบที่รวมเป็นหนึ่งเดียวของสาขาย่อยเหล่านี้ แต่เดิม แมคคาทรอนิกส์ได้รวมแค่แมคคานิกส์และอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น ดังนั้นคำว่าแมคคาทรอนิกส์จึงเป็นคำผสมของ แมคคา และ ทรอนิกส์ อย่างไรก็ตาม เมื่อระบบด้านเทคนิคมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ คำ ๆ นี้จึงถูกขยายความให้รวมถึงพื้นที่ทางเทคนิคมากยิ่งขึ้น


คำว่า "แมคคาทรอนิกส์" มีจุดเริ่มต้นในภาษา Japanese-English และถูกริเริ่มโดยนาย Tetsuro Mori  วิศวกรจากบริษัท Yaskawa Electric Corporation คำนี้ถูกลงทะเบียนเป็น เครื่องหมายการค้า โดยบริษัทในญี่ปุ่นด้วยทะเบียนหมายเลข "46-32714" ในปี 1971 อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นบริษัทได้สละสิทธ์การใช้ในสาธารณะ คำนี้จึงขยายออกไปทั่วโลก ในปัจจุบันคำนี้ถูกแปลเป็นภาษาอื่นและได้รับการพิจารณาว่าเป็นคำสำคัญในอุตสาหกรรม
มาตรฐานของฝรั่งเศส NF E 01-010 ให้คำนิยามต่อไปนี้: “ดำเนินการในจุดประสงค์เพื่อบูรณาการอย่างเสริมประสานกันของทฤษฎีกลไก, อิเล็กทรอนิกส์, ควบคุม, และวิทยาการคอมพิวเตอร์ภายในการออกแบบและการผลิตผลิตภัณฑ์, เพื่อที่จะปรับปรุงหรือให้ประโยชน์สูงสุดของหน้าที่การทำงานของมัน
คนจำนวนมากปฏิบัติต่อ "แมคคาทรอนิกส์" เหมือนกับเป็นคำศัพท์เฉพาะที่ทันสมัยที่พ้องกับคำว่า "วิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกล"หุ่นยนต์เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการประยุกต์ใช้แมคคาทรอนิกส์ตัวอย่างผลงานที่สร้างจากสาขาวิชานี้ได้แก่ “ระบบอัจฉริยะ” (Intelligent Systems) ซึ่งมีกลไกที่สามารถทำงานด้วยตัวเองโดยอัตโนมัติ ตามความต้องการที่กำหนดไว้ได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องและแม่นยำ ตัวอย่างของระบบที่มีระบบแมคคาทรอนิกส์เป็นส่วนประกอบ เช่น หุ่นยนต์อุตสาหกรรม หุ่นยนต์กู้ภัย และอาคารอัจฉริยะ เป็นต้น

เเมคคาทรอนิกส์(Mechatronics Engineer)เรียนเกี่ยวกับอะไร ?
           สาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์ศึกษาความสัมพันธ์ของศาสตร์แขนงต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น อย่างเป็นระบบเพื่อนำความรู้ความเข้าใจไปใช้สร้าง “ผลิตภัณฑ์อันชาญฉลาด” (Smart Product) หรือ “ระบบอัจฉริยะ” (Intelligent Systems) ซึ่งจะมีกลไกที่สามารถทำงานด้วยตัวของมันเองอย่างอัตโนมัติตามความต้องการที่กำหนดไว้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องและแม่นยำ สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวางในด้านต่างๆ เป็นต้นว่า หุ่นยนต์อุตสาหกรรม หุ่นยนต์กู้ภัย อาคารอัจฉริยะ สมองกลรักษาโรค รวมถึงเทคโนโลยีทางวิศวกรรมสมัยใหม่อื่นๆ อีกมากมาย

เรียนจบแล้วสามารถประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง ?

- ช่างเทคนิค ผู้ออกแบบนักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือระบบอัตโนมัติให้กับสินค้าเทคโนโลยีชั้นนำต่างๆ
- ช่างเทคนิคควบคุมการใช้และดูแลรักษาเทคโนโลยีในระบบอัตโนมัติที่ใช้ในโรงงานและอาคารพานิชยกรรม

เรียนจบแล้วสามารถทำงานที่ไหนได้บ้าง ?
          สามารถทำงานในภาคอุตสาหกรรมที่ต้องใช้ระบบและเครื่องจักรกลอัตโนมัติเพื่อการผลิต หรือประกอบเช่น ยานยนต์ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือในหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ


หลักสูตรการสอนในประเทศไทย



คุณสมบัติทั่วไปของวิศวกรแมคคาทรอนิกส์ (Mechatronics Engineer)

1. ความคิดสร้างสรรค์ ในแง่ของการทำงานเราอาจจะต้องเจอปัญหาหรืออุปสรรค ความคิดสร้างสรรค์จึงเป็นตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้เรามองหาวิธีการใหม่ในการทำงาน หรือหลุดพ้นจากปัญหาเหล่านั้นไปได้



2. ความสามารถในการสื่อสาร เนื่องจากวิศวกรต้องทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่น มักจะมีทั้งผู้ร่วมงาน เจ้านาย และลูกน้อง หากวิศวกรคนใดไม่สามารถพูดหรือเขียนให้คนอื่นเข้าใจได้ หรือนำเสนองานหรือไอเดียให้คนอื่นเข้าใจและเห็นด้วยตามเหตุผลแล้ว ความรู้ที่ วิศวกรคนนั้นมีก็อาจจะไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากนัก

3. ความรู้ทางคณิตศาสตร์ เป็นปัจจัยสำคัญในการทำงานด้านวิศวกร เราจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในด้านนี้ เพราะเราต้องนำความซับซ้อนทางคณิตศาสตร์มาช่วยในการคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับตัวงานที่เราทำ และยังต้องนำมาช่วยในการออกแบบแนวทางการแก้ปัญหาให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดด้วย

4. การทำงานเป็นทีม ความรู้ความสามารถส่วนบุคคลอาจไม่เพียงพอเพราะการทำงานที่ดี และสำเร็จไปได้ด้วยดีนั้น เราจำเป็นต้องทำงานร่วมกับคนอื่นได้ด้วย ต้องรับรู้และรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นด้วยเช่นกัน  การทำงานเป็นทีมจะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะสมาชิกในทีมได้ช่วยกันทำงาน เมื่อการทำงานประสบความสำเร็จ ทุกคนในทีมก็จะเกิดความภาคภูมิใจ

5. ทักษะภาษาอังกฤษ วิศวกรจำเป็นต้องมีทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในระดับที่สามารถสื่อสารได้เข้าใจ เพราะในปัจจุบัน วิศวกรส่วนใหญ่ต้องทำงานกับบริษัทต่างชาติ หรือต้องติดต่อกับลูกค้าที่เป็นชาวต่างชาติมากขึ้น ดังนั้นภาษาอังกฤษจึงเป็นสิ่งสำคัญ หากสื่อสารกันไม่ได้ จะทำให้เป็นอุปสรรคในการทำงานได้ ผู้ที่ทำงานด้านวิศวกรจึงต้องฝึกฝนการใช้ภาษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

6. ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตัวเอง เทคโนโลยีที่ทันสมัยเกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา วิศวกรจึงต้องเพิ่มทักษะการทำงาน โดยต้องมีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตัวเอง อีกทั้งวิศวกรที่ดีควรแสวงหาความรู้ด้วยตัวเอง เพื่อจะได้นำมาประยุกต์ใช้กับการทำงานได้ โดยไม่ต้องรอความช่วยเหลือจากใคร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น วิศวกรก็ต้องตามความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีให้ทัน เพื่อจะได้เป็นวิศวกรที่มีคุณภาพ

7. ความสามารถในการแก้ปัญหา ทักษะการแก้ปัญหาเป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้ทักษะข้ออื่นๆ เพราะการแก้ปัญหาและหาคำตอบ เป็นส่วนหนึ่งของงานวิศวกรเพราะเราต้องไล่เรียงให้ได้ว่าปัญหาเกิดจากอะไร แล้วเราจะมีแก้ปัญหาอย่างไรให้กับสิ่ง ๆ นี้ ทักษะด้านนี้อาจจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก แต่วิศวกรมือใหม่หลายๆ คนสามารถเรียนรู้ได้จากรุ่นพี่ หรือนำปัญหานี้ไปปรึกษากับวิศวกรคนอื่น ทักษะการแก้ปัญหาสามารถฝึกฝนกันได้ และประสบการณ์จะเพิ่มมากขึ้นจนเกิดเป็นความชำนาญ

8. ยึดหลักธรรมาภิบาลในการทำงาน หลักธรรมาภิบาลถูกพูดถึงอย่างแพร่หลาย เพราะสามารถนำมาช่วยส่งเสริมและสร้างสรรค์องค์กรให้มีประสิทธิภาพในการบริหารงานได้ วิศวกรสามารถนำหลักการนี้ มาช่วยในการทำงานได้ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานที่เน้นหลักความโปร่งใส และมีคุณธรรมในการทำงาน ไม่ใช่ทำงานโดยไม่ใส่ใจว่าผู้บริโภคจะเป็นอย่างไร เพียงแค่ทำงานให้เสร็จแล้วก็แล้วกันไป


 credit:

VDO แนะนำตัวเอง

Comments