เปลือกผลไม้ลบคำผิด

เปลือกผลไม้ลบคำผิด 
บทนำ


ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

ในช่วงนี้ประเทศไทยก็อยู่ในช่วงฤดูหนาวก็ได้มีผลไม้หลายประเภทที่ได้เจริญเติบโตขึ้นมามากมาย ในการรับประทานผลไม้นั้นเราจะปอกเปลือกก่อนรับประทาน เมื่อเปลือกนั้นถูกปอกไปก็ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์อะไร ทางคณะผู้จัดทำจึงได้ลองนำเปลือกมาเช็ดรอยน้ำยาลบคำผิดที่ติดอยู่บนไม้ ปรากฏว่าสามารถลบรอยน้ำยาลบคำผิดนั้นได้ และได้ทดลองเปลือกผลไม้ ได้แก่ มะนาว แอปเปิ้ล สาลี่ ส้ม ปรากฏว่าเปลือกส้มสามารถลบรอยน้ำยาลบคำผิดได้ดีที่สุด

จุดมุ่งหมายของการศึกษา

           1. เพื่อนำเปลือกผลไม้ที่เหลือใช้หรือเศษขยะมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด     
           2. เพื่อศึกษาวิธีการนำเปลือกผลไม้แต่ละชนิดมาลบน้ำยาลบคำผิดบนโต๊ะ เก้าอี้ และผนังห้อง

สมมติฐานของการศึกษา

            ถ้านำ เปลือกส้ม เปลือกมะนาว เปลือกสาลี่ และเปลือกแอปเปิ้ลเขียว มาลบน้ำยาลบคำผิด เปลือกมะนาวจะลบน้ำยาลบคำผิดได้ดีที่สุด

ระยะเวลาทำการทดดลอง
       วันที่2-8กันยายน พ.ศ.2562



เอกสารที่เกี่ยวข้อง
1.มะนาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus aurantifolia
วงศ์ : Rutaceae
เริ่มแรกจากแถบเอเชีย พื้นที่ที่มีการเพาะปลูกส่วนมากเป็นเขตอบอุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศอิตาลี, บริเวณ แถบเอเชียตอนใต้และอเมริกา มะนาวเป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 4.5 เมตร (15 ฟิต) ใบเรียบสีเขียว มีหนามแหลมคม และเล็ก มีดอกสีขาว มะนาวมีผลสีเขียวและมีหลายชนิด เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 นิ้ว  ส่วนใหญ่ใช้แต่งกลิ่นและรสชาติ ในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และโคลา รวมถึงใช้ในอุตสาหกรรม น้ำหอม
ส่วนที่ใช้ : ผิว


2.แอปเปิ้ล

ชื่อวิทยาศาสตร์: Malus domestica
วงศ์:วงศ์กุหลาบ
ต้นแอปเปิล (อังกฤษ: apple; ชื่อวิทยาศาสตร์: Malus domestica) เป็นต้นไม้ผลัดใบในวงศ์กุหลาบ มีผลรสหวานเรียกว่า ผลแอปเปิล แอปเปิลมีปลูกอยู่ทั่วโลกในลักษณะของไม้ผล และสายพันธุ์ที่ถูกปลูกมากที่สุดคือสกุล Malus ต้นแอปเปิลมีต้นกำเนิดในเอเชียกลาง ซึ่งบรรพบุรุษคือ Malus sieversii ยังคงพบได้ในปัจจุบัน แอปเปิลมีปลูกเป็นเวลาหลายพันปีในเอเชียและยุโรป และกลุ่มอาณานิคมชาวยุโรปนำมาปลูกที่อเมริกาเหนือ แอปเปิลมีความสำคัญทางศาสนาและเทพปกรณัมในหลายวัฒนธรรม รวมถึงนอร์สกรีก และประเพณีต่าง ๆ ของคริสต์ศาสนิกชนของชาวยุโรป
ส่วนที่ใช้ : ผิว


3.สาลี่

 ชื่อวิทยาศาสตร์: Pyrus pyrifloraL.
วงศ์:      Rosaceae
สาลี่หรือสาลี่จีน (อังกฤษ: Chinese pear; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pyrus pyrifloraL.) มีชื่ออื่นๆอีกหลายชื่อ เช่น nashi pear[1]ในญี่ปุ่นเรียก nashi ภาษาเกาหลีเรียก shingo เป็นชื่อไม้ต้นชนิดหนึ่งในวงศ์ Rosaceae เป็นพืชเมืองหนาว ถิ่นกำเนิดในภาคตะวันตกของจีน พบขึ้นตามธรรมชาติในมณฑลเสฉวน ประเทศจีน ลักษณะเป็นไม้ยืนต้น ต้นชะลูด ทรงพีระมิด ดอกสีขาว ออกเป็นช่อ ผลมีหลายสี ตั้งแต่เหลือง แดงอมส้ม น้ำตาล เขียว เนื้อกรอบ ฉ่ำน้ำ บางพันธุ์เนื้อเป็นทราย รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย กลิ่นหอม เมล็ดขนาดเล็ก แบนรี สีดำหรือสีน้ำตาลเกือบดำ
ส่วนที่ใช้ : ผิว

4.ส้ม
วงศ์: Rutaceae
เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็กหลายชนิด เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ สกุล Citrus วงศ์ Rutaceae มีด้วยกันนับร้อยชนิด เติบโตกระจายอยู่ทั่วโลก โดยมากจะมีน้ำมันหอมระเหยในใบ ดอก และผล และมีกลิ่นฉุน หากนำใบขึ้นส่องกับแสงแดด จะเห็นจุดเล็กๆ เต็มไปหมด ซึ่งจุดเหล่านั้นก็คือแหล่งน้ำมันนั่นเอง ส้มหลายชนิดรับประทานได้ ผลมีรสเปรี้ยวหรือหวาน มักจะมีแคลเซียม โปแทสเซียม วิตามินเอ และ วิตามินซี มากเป็นพิเศษ ถ้าผลไม้จำพวกนี้มี มะ อยู่หน้า ต้องตัดคำ ส้ม ออก เช่น ส้มมะนาว ส้มมะกรูด เป็น มะนาว มะกรูด
ส่วนที่ใช้ : ผิว

วิธีการทดลอง

1.นำผลไม้ทั้ง4 ชนิดมาปลอกเปลือก
2.น้ำเปลือกของผลไม้แต่ละชนิดมาตัดให้มีขนาดเท่าๆกัน
3.ใช้ปากกาลบคำผิดลบลงไม้ที่เตรียมไว้โดยมีขนาดเท่าและความยาวเท่า
4.นำเปลือกผลไม้ทั้ง4 มาถูบริเวณที่มีปากกาลบคำผิด โดยกำหนดให้แต่ละชิ้นถู100ครั้งต่อ1รอยปากกาลบคำผิด
5.เปรียบเทียบว่าเปลือกของผลไม้ชนิดใดสามารถลบรอยปากกาคำผิดได้ดีกว่ากัน
6.บันทึกผลการทดลอง โดยทำการทดลอง 3 ครั้ง

สรุปผลการทดลอง
             เปลือกผลไม้แค่ละชนิดมีความสามารถในการลบปากกาลบคำผิดได้ แต่แตกต่างตรงที่ประสิทธิภาพในการขจัดปากกาลบคำผิด โดยเปลือกของส้มสามารถลบปากกาลบคำผิดได้ดีที่สุด รองลงมาคือมะนาว แอปเปิ้ลและสาลี่

โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทค้นคว้าทดลอง เรื่อง”เปลือกผลไม้ลบคำผิด”นำเปลือกผลไม้มาใช้ลบน้ำยาลบคำผิดบนโต๊ะ ได้ผลดังนี้
เปลือกส้ม           ครั้งที่๑    ดีมาก             ครั้งที่๒      ดี               ครั้งที่๓      ดี           เฉลี่ยดี
เปลือกมะนาว    ครั้งที่๑   ปานกลาง        ครั้งที่๒ ปานกลาง       ครั้งที่๓ ปานกลาง   เฉลี่ยปานกลาง
เปลือกสาลี่         ครั้งที่๑  ปานกลาง        ครั้งที่๒ น้อย                ครั้งที่๓ น้อย            เฉลี่ย น้อย
เปลือกแอปเปิ้ล  ครั้งที่๑  น้อยมาก          ครั้งที่๒ น้อย                ครั้งที่๓  น้อย          เฉลี่ย น้อยมาก






รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม
นาย พัทธพล  อมรวิริยะชัย  6201011611128
นาย พุฒิพงษ์  เอี่ยมเจริญ  6201011631129
นาย วรรณภิชัย  ประจงค์  6201011631161
นางสาว อรพิมล  ฤทธิ์รือชัย  6201011631196
นางสาว พีระภรณ์  ทศพร  6201011631111

Comments