การสำรวจค่าสายตาของนักศึกษา ECE 62

ค่าสายตาคืออะไร ?

             ค่าสายตา คือ ค่าที่แสดงความสามารถในการมองเห็นของ ดวงตา ซึ่งประกอบไปด้วยเลนส์ในตา กล้ามเนื้อและ องศาต่างๆ ซึ่งเป็นตัวตัวบ่งบอกว่าการมองเห็นของคนเรานั้นสามารถมองได้ปกติหรือไม่
            หากมีค่าสายตาที่มากหรือน้อยเกินกว่าค่าสายตาปกติ สามารถแก้ไขได้ด้วยการสวมใส่แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ที่มีเลนส์ช่วยในการปรับการมองเห็นให้ดวงตาของเรานั้นสามารถกลับมามองได้ชัดเจนเหมือนปกติ ซึ่งการตัดแว่นสายตานั้นจะต้องสอดคล้องกับค่าสายตาของเรา จึงจะทำให้ผู้มีปัญหาสายตามีความปลอดภัยการใช้ชีวิตมากยิ่งขึ้น



ปัญหาเรื่องค่าสายตา สามารถแบ่งออกได้ 3 แบบหลักๆ คือ
1. สายตาสั้น
            เกิดจากภาวะความผิดปกติของสายตาที่ไม่สามารถรับแสงหักเหจากวัตถุที่มาโฟกัสตรงจอตาได้อย่างพอดี(Refractive Errors) ส่งผลให้มองเห็นวัตถุดังกล่าวไม่ชัด โดยผู้ที่สายตาสั้นจะมองเห็นสิ่งที่อยู่ระยะไกลไม่ชัด หรือมองเห็นมัวลง แต่จะมองเห็นสิ่งที่อยู่ใกล้ชัดเจน
           สาเหตุ - อาจเกิดจากกระจกตามีความโค้งมากกว่าปกติ จึงทำให้มีกำลังหักเหแสงมากเกินไป ลำแสงจึงไปรวมกันก่อนถึงจอประสาทตา แต่ในบางรายอาจจะเกิดจากการมีลูกตายาวผิดปกติจนทำให้ลำแสงรวมกันก่อนถึงจอประสาทตาก็ได้


2. สายตายาว
          ภาวะกำลังหักเหแสงของตาผิดปกติ โดยผู้ที่มีสายตายาวจะมีลูกตาเล็กหรือกระจกตาแบนเกินไป ทำให้ไม่สามารถมองเห็นวัตถุในระยะใกล้ได้ชัดเจน แต่มองเห็นวัตถุในระยะไกลได้ชัดเจน หรืออาจเห็นไม่ชัดทั้งระยะใกล้และระยะไกล         
          สาเหตุ - มาจากลูกตาเล็กเกินไปหรือกระจกตาไม่โค้งมนเพียงพอ ทำให้ระยะห่างระหว่างกระจกตาและจอประสาทตาสั้นลง เป็นสาเหตุทำให้แสงจากวัตถุไม่โฟกัสบนจอประสาทตา แต่ไปโฟกัสหลังจอประสาทตาแทน ซึ่งส่งผลให้เห็นภาพได้ไม่ชัดเจน


3. สายตาเอียง
         เป็นปัญหาสายตาที่เกิดจากกระจกตาหรือเลนส์ตามีความโค้งไม่เท่ากันหรือมีรูปร่างผิดไปจากปกติ ทำให้มองเห็นเป็นภาพเบลอ หรือเห็นภาพผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง ทั้งในระยะใกล้และระยะไกล ทำให้เกิดผลข้างเคียงอย่างอาการปวดหัว ปวดตา หรือตาล้าหลังจากใช้สายตาเป็นเวลานาน โดยสายตาเอียงสามารถเกิดขึ้นได้ร่วมกับปัญหาสายตาสั้นหรือสายตายาว
          สาเหตุ - เกิดจากกระจกตามีความโค้งไม่สม่ำเสมอกัน หรือกระจกตามีรูปร่างผิดไปจากปกติ เช่น โค้งเป็นทรงรี หรือรูปไข่ ทั้งในแนวตั้ง แนวนอน หรือแนวเฉียง ทำให้มองเห็นภาพไม่ชัดหรือผิดเพี้ยนไปจากความจริง เนื่องจากตำแหน่งการตกกระทบของแสงเปลี่ยนไป โดยสามารถเกิดขึ้นร่วมกับปัญหาสายตาสั้นและสายตาเอียงได้


ค่าสายตานั้นสามารถแบ่งตามการหักเหของแสง ซึ่งเลนส์ที่เลือกใช้จำเป็นต้องสอดคล้องด้วย
1. เลนส์เว้า หรือ เลนส์ลบ - เลนส์ที่ใช้สำหรับคนที่สายตาสั้น
2. เลนส์นูน หรือ เลนส์บวก - เลนส์ที่ใช้สำหรับคนที่สายตามยาว
3. เลนส์เอียง - เลนส์ที่ใช้สำหรับคนที่สายตาเอียง แต่หากพบว่ามีปัญหาด้าสายตาทั้งคู่(ทั้งสายตาสั้น/ยาวและเอียง) ควรใช้เลนส์แบบ Spherocylinder

การสำรวจค่าสายตาของนักศึกษา
ภาค Electrical and Computer Engineering ปี 2562

วัตถุประสงค์ของการสำรวจสอบถาม
1.     เพื่อเก็บข้อมูลและวิเคราะห์เกี่ยวกับข้อมูลค่าสายตาของนักศึกษาECE
2. เพื่อทราบว่ามีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากน้อยเพียงใด
3. เพื่อทราบปัญหาที่เกิดจากปัญหาสายตาที่พบบ่อย
4. เพื่อทราบว่ากิจกรรมใดที่ทำให้เรามีค่าสายตาที่ผิดปกติ
5. เพื่อป้องกันและดูแลให้ค่าสายตาเราปกติหรือไม่แย่ไปกว่าเดิม

สมมุติฐาน
1.     กรรมพันธุ์และลักษณะทางพันธุกรรมที่แต่ละคนได้รับมามีผลต่อค่าสายตาโดยกำเนิดของแต่ละคน
2.     สภาพแวดล้อมในการเจริญเติบโตมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่าสายตาของแต่ละคน
3.     การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่หรือหน้าจอคอมพิวเตอร์ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่าสายตาของแต่ละคน
4.     ช่วงอายุที่มีการเปลี่ยนแปลงของค่าสายตาอยู่ที่5-25ปี สายตามีแนวโน้มที่จะสั้นมากขึ้น
5.     ค่าสายตาที่มากกว่า 100 จะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันหากไม่สวมใส่อุปกรณ์ช่วยเหลือ เช่นแว่นสายตา
6.     กิจกรรมกลางแจ้งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่าสายตา
7.     นักศึกษาส่วนใหญ่เลือกใช้แว่นสายตาเป็นอุปกรณ์เพื่อให้มองเห็นใกล้เคียงกับค่าสายตาปกติ
8.     นักศึกษาไม่ค่อยดูแลสายตามากเท่าที่ควร ยังคงมีพฤติกรรมเล่นโทรศัพท์ที่ผิด

การทดลอง
1.    ใช้วิธีการทดลองโดยการสร้างแบบสอบถามด้วย Google from และสร้างคำถาม โดยจะส่งแบบสอบถามเข้าไปในไลน์กลุ่มของคณะ ECE
       โดยคำถามที่ใช้ในแบบฟอร์มสอบถามข้อมูล
      1.1.    เพศ
      1.2.    อายุ
      1.3.    หลักสูตรที่ศึกษา
      1.4.    ท่านเคยวัดสายตาหรือไม่
      1.5.    สายตาท่านเป็นเช่นไร
      1.6.    ท่านมีค่าสายตาอยู่ที่เท่าไร
      1.7.    ท่านมีค่าสายตาตั้งแต่ช่วงอายปุระมาณเท่าไร
      1.8.    ปัญหาทางด้านสายตาส่งผลเสียกับการดำเนินชีวิตปกติของท่านมากน้อยเพียงใด
      1.9.    ปัญหาด้านสายตาที่เจอบ่อย
      1.10.  กิจกรรมใดในชีวิตประจำวันที่ส่งผลต่อสายตาของท่าน
      1.11.  อุปกรณ์ที่สวมใส่เพื่อให้ค่าสายตาที่มองเห็นใกล้เคียงกับปกติ ที่ท่านเลืกใช้คือ
      1.12.  แนวทางการป้องกันและดูแลค่าสายตาให้ดีขึ้นที่ท่านเลือกใช้

ตัวอย่างแบบสอบถามใน Google From
Link แบบสอบถาม : 
https://forms.gle/WTeHwtZGWGZPzS48A

จากการเก็บรวบรวมข้อมูลสอบถามจากกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นนักศึกษาในภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์แล้ว ได้ผลดังนี้
 


*ไม่ทราบ : 4(3.4%)*


*  อื่นๆ : 3(2.5%)      |        มากกว่า500 : 10(8.4%)       |       300-400 : 2(1.7%)   *


*ช่วงอายุ 19 ปีขึ้นไป 2(1.7%)*


แผนภูมิคำตอบแบบฟอร์ม ชื่อคำถาม: ปัญหาด้านสายตาส่งผลเสียกับการดำเนินชีวิตปกติของท่านมากน้อยเพียงใด จำนวนคำตอบ: คำตอบ 119 ข้อ
แผนภูมิคำตอบแบบฟอร์ม ชื่อคำถาม: ปัญหาด้านสายตาที่เจอพบบ่อย จำนวนคำตอบ: คำตอบ 116 ข้อ
แผนภูมิคำตอบแบบฟอร์ม ชื่อคำถาม: กิจกรรมใดในชีวิตประจำวันที่ท่านคิดว่าส่งผลต่อค่าสายตาของท่าน จำนวนคำตอบ: คำตอบ 119 ข้อ
แผนภูมิคำตอบแบบฟอร์ม ชื่อคำถาม: แนวทางการป้องกันและดูแลค่าสายตาให้ดีขึ้นที่ท่านเลือกใช้ จำนวนคำตอบ: คำตอบ 119 ข้อ
ข้อเสนอแนะ
      ดีมั๊กก
      เลือกได้มากกว่าหนึ่งทำไม่เลือกได้อันเดียวแก้ไขด้วย
      ตำลึงช่วยบำรุงสายตารู้ป่าว

สรุปผลการทดลองและอภิปราย

              ค่าสายตานั้นถือเป็นเรื่องสำคัญในการใช้ชีวิตประจำวัน แรกเริ่มเดิมทีคนเราส่วนมากนั้นมีค่าสายตาที่เป็นค่าปกติ ไม่มีอาการค่าสายตาสั้น ค่าสายตายาว หรือค่าสายตาเอียง แต่รูปแบบการดำเนินชีวิตและการใช้สายตาที่แตกต่างกัน จึงทำให้สายตาเกิดการเสื่อมถอยลง จากเดิมที่การมองเห็นมีประสิทธิภาพดีและสามารถมองเห็นได้ชัดเจน ก็อาจเกิดอาการมองเห็นที่มีความชัดน้อยลงเมื่อมองห่างออกไประยะหนึ่ง หรือเกิดอาการปวดตาเมื่อต้องเพ่งสายตาในทำบางอย่างเพราะมองเห็นไม่ชัดเจน ซึ่งช่วงอายุประมาณ13-15ปีเป็นช่วงเวลาที่กลุ่มเป้าหมายเริ่มมีปัญหาในด้านสายตามากที่สุด โดยทั้งนี้ก็เป็นผลมาจากพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกันไป
             ซึ่งอาการเหล่านี้มักเกิดจากพฤติกรรมในการทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดค่าสายตามากน้อยแตกต่างกันไปในแต่ล่ะบุคคล ซึ่งกิจกรรมต่างๆเป็นต้นเหตุให้เกิดอาการเหล่านี้มีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆอย่าง โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ หรือการอ่านหนังสือและเรียนรู้จากการอ่านสไลค์โปรเจคเตอร์ที่นำเสนอข้อมูลต่างๆ หรือแม้แต่การทำกิจกรรมในที่โล่งแจ้งซึ่งมีแสงแดดก็ส่งผลกระทบต่อค่าสายตาได้เช่นกัน แต่โดยส่วนมากแล้วในกิจกรรมที่ก่อให้เกิดปัญหาด้านสายตามากที่สุดในกลุ่มตัวอย่างจะเป็นในส่วนของการเล่นโทรศัพท์หรือการเล่นคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต(คิดเป็น83.2%)
            ปัญหาสายตาที่เกิดขึ้นดดยส่วนมากกลุ่มเป้าหมายมักจะมีปัญหาค่าสายตาสั้น(คิดเป็น68.9%) โดยอยู่เฉลี่ยประมาณ 100-300 จากส่วนมาก ซึ่งกว่า 17.6% จะมีค่าสายตา 100-200 และ 22.8% จะมีค่าสายตา 200-300 และมีแนวโน้มที่ค่าสายตาจะมากขึ้นอีกด้วย ส่วนมากจะมีปัญหาในการใช้ชีวิตในระดับปานกลาง(คิดเป็น27.7%)  ซึ่งทำให้นักศึกษาส่วนใหญ่ประมาณ 51.7% เลือกที่จะใส่แว่นเพื่อแก้ไขปัญหาในการมองเห็น แต่ก็มีถึง 33.6% ที่เลือกจะไม่ใส่แว่น ซึ่งเหตุผลเป็นเพราะการมองเห็นยังไม่มีปัญหาในการใช้ชีวิตเท่าไหร่นัก(ค่าสายตาต่ำกว่า100หรือไม่มีค่าสายตา)
            ปัญหาที่มักพบในกลุ่มเป้าหมายนั้นกว่า 79.3% นั้นระบุถึงปัญหาหลักของการมีค่าสายตาคือ การมองเห็นในระยะใกล้/ไกลไม่ชัดเจน และรองลงมาคืออาการปวดตาซึ่งเกิดขึ้นประมาณ 47.4% จากกลุ่มนักศึกษาทั้งหมด โดยการดูแลรักษาสายตาที่ส่วนใหญ่เลือกใช้จะเป็นในการงดหรือลดการทำกิจกรรมต่างๆที่ส่งผลเสียกับสายตา รองลงมาจะเป็นในส่วนของการเลือกสวมแว่นกรองแสง


เครดิตข้อมูลเกี่ยวกับสายตา
https://www.pobpad.com/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99
https://www.pobpad.com/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A7
https://www.pobpad.com/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87



สมาชิก
นางสาว เขมิชนา ใจสมัคร  
(รหัสนักศึกษา  62-010116-1003-2)
นาย ณัฐสิทธิ์ แซ่ลิ่ม 
(รหัสนักศึกษา  62-010116-1008-3)
นางสาว ปอเงิน สุกใส 
(รหัสนักศึกษา 62-010116-2020-8) 
นาย พชร จันทร์แย้ม
(รหัสนักศึกษา  62-010116-2021-6) 
นางสาว เมทินี ธุสิรัตน์
(รหัสนักศึกษา  62-010116-2026-7) 




Comments